ยอดลูกหนี้การค้า หรือ Accounts Receivable Balance เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญของธุรกิจ เพราะมันสะท้อนถึงสภาพคล่อง กระแสเงินสด และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเครดิตของลูกค้า หากธุรกิจมีบัญชีลูกหนี้สูงเกินไป อาจเป็นสัญญาณของปัญหาในการเรียกเก็บเงิน แต่หากต่ำเกินไป อาจแสดงถึงข้อจำกัดด้านการขายหรือโอกาสที่พลาดไป มาดูกันว่า Accounts Receivable Balance สามารถบอกอะไรเกี่ยวกับธุรกิจของคุณได้บ้าง
Accounts Receivable Balance คืออะไร?
Accounts Receivable Balance หมายถึง ยอดรวมของลูกหนี้การค้า ที่ธุรกิจยังไม่ได้รับชำระจากลูกค้า ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการขายสินค้าและบริการแบบให้เครดิต โดยบัญชีลูกหนี้การค้าจะถูกบันทึกเป็น สินทรัพย์หมุนเวียน ในงบการเงินของบริษัท เนื่องจากเป็นจำนวนเงินที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต
ยอด Accounts Receivable Balance สามารถสะท้อนถึง สภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจ หากมียอดค้างชำระสูง อาจหมายถึงปัญหาในการเก็บหนี้ หรือการให้เครดิตที่อาจเสี่ยงเกินไป ซึ่งอาจส่งผลต่อกระแสเงินสดของบริษัท ในทางกลับกัน หากยอดลูกหนี้ต่ำ อาจบ่งชี้ว่าธุรกิจมีนโยบายเครดิตที่เข้มงวดเกินไป จนอาจสูญเสียโอกาสทางการขาย
วิธีการคำนวน Accounts Receivable Balance
ยอดเงินรวมที่บริษัทคาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้ที่ยังไม่ได้ชำระใช้วัดสภาพคล่องและประสิทธิภาพในการจัดการลูกหนี้ของบริษัท โดยคิดจาก ผลรวมของ Aging of Accounts Receivable

- Total Outstanding Invoices หมายถึง ยอดรวมของใบแจ้งหนี้ที่ยังไม่ได้รับชำระจากลูกค้าหรือคู่ค้า ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ธุรกิจยังคงต้องได้รับตามเงื่อนไขการชำระเงินที่กำหนด
- Allowance for Doubtful Accounts หมายถึง ค่าเผื่อสำหรับหนี้ที่อาจไม่ได้รับชำระ ซึ่งเป็นการตั้งสำรองทางบัญชีเพื่อรองรับความเสี่ยงจากลูกหนี้ที่มีโอกาสไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด
ตัวอย่าง
หากบริษัทมีใบแจ้งหนี้ที่ออกไปทั้งหมด 100,000 บาท และคาดว่ายอด 5,000 บาทอาจจะไม่สามารถเก็บได้ (ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ) ยอดคงเหลือลูกหนี้การค้าจะเป็น:
ยอดคงเหลือลูกหนี้การค้า=100,000 บาท−5,000 บาท=95,000 บาท หรือใช้ผลรวมยอดค้างชำระได้
- Aging of Accounts Receivable: เป็นการรายงานจำนวนเงินที่ลูกค้าค้างชำระตามช่วงเวลา เช่น 30 วัน, 60 วัน, 90 วัน ใช้ประเมินและวิเคราะห์ใบแจ้งหนี้ที่ยังไม่ได้รับการชำระ รวมถึงระยะเวลาที่ใบแจ้งหนี้เหล่านั้นค้างอยู่
ตัวอย่างตารางยอดค้างชำระ ตามใบแจ้งหนี้
หมวดหมู่ของอายุ | จำนวนเงินในใบแจ้งหนี้ | ยอดรวม |
0-30 วัน | 100,000 | 100,000 บาท |
31-60 วัน | 50,000 | 50,000 บาท |
61-90 วัน | – | 0 บาท |
เกิน 90 วัน | 25,000 + 10,000 | 35,000 บาท |
AR Balance = 100,000 + 50,000 + 0 + 35,000 = 185,000 บาท
วิธีการอ่าน
แนวโน้มที่เพิ่มขึ้น: หากยอดคงเหลือลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจบ่งชี้ว่าบริษัทกำลังขายสินค้า/บริการได้มากขึ้นหรืออาจมีปัญหาในการเก็บเงิน
แนวโน้มที่ลดลง: หากยอดคงเหลือลูกหนี้การค้าลดลง อาจแสดงถึงการปรับปรุงในการเก็บเงินหรือยอดขายที่ลดลง
ความสำคัญของ Accounts Receivable Balance
แสดงรายได้ที่ยังไม่ได้รับ
เป็นจำนวนเงินที่ธุรกิจคาดว่าจะได้รับจากลูกค้า ซึ่งเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นแต่ยังไม่ได้รับเป็นเงินสด
สะท้อนสภาพคล่องของธุรกิจ
หากยอดลูกหนี้สูงเกินไป อาจบ่งบอกถึงปัญหาการเรียกเก็บเงินสด ซึ่งส่งผลต่อกระแสเงินสดของธุรกิจ
หากยอดลูกหนี้ต่ำ อาจหมายถึงการบริหารจัดการเครดิตลูกค้าได้ดี หรืออาจเป็นสัญญาณว่ายอดขายลดลง
ช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านเครดิต
หากลูกหนี้การค้าค้างชำระเป็นเวลานาน อาจเป็นสัญญาณว่าลูกค้าอาจมีปัญหาทางการเงิน และอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ
ใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์งบการเงิน
มีผลกระทบต่ออัตราส่วนทางการเงิน เช่น Accounts Receivable Turnover Ratio ซึ่งใช้วัดประสิทธิภาพในการจัดเก็บหนี้
ส่งผลต่อการบริหารเงินทุนหมุนเวียน
การติดตามและจัดการบัญชีลูกหนี้อย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้ธุรกิจมีเงินสดเพียงพอสำหรับการดำเนินงานและการลงทุนต่อไป
สามารถเข้าไปดูบทความอื่นๆได้ที่ : https://rdbi.co.th/blog/
ปรึกษาหรือสอบถามเกี่ยวกับการใช้งาน Accounts Receivable Turnover ได้ที่
เพจ : http://bit.ly/rdbipage
Facebook : https://www.facebook.com/RandDBI/
Line OA : @rdbi
Tel : 02-681-9700
อีเมล์ : sales@rdbi.co.th🌟