Net Profit Margin หรือ อัตรากำไรสุทธิตัวชี้วัดสำคัญที่สะท้อนถึงความสามารถในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยทั่วไปแล้ว ธุรกิจต้องมีการบริหารจัดการต้นทุนและรายรับให้สมดุลเพื่อสร้างผลกำไรสูงสุด อัตรากำไรเฉลี่ยจึงเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์ทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Net Profit Margin คืออะไร?
คือ ตัวชี้วัดที่สำคัญในการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ โดยเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมดที่กลายเป็นกำไรสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด เช่น ต้นทุนสินค้า ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ภาษี และดอกเบี้ยออกไปแล้ว อัตรากำไรสุทธิเป็นตัวบ่งชี้ถึงสุขภาพทางการเงินของบริษัทและความสามารถในการสร้างกำไรจากรายได้ที่ได้รับ
วิธีคำนวณ

ตัวอย่าง
- หากบริษัทมีรายได้รวม 1,000,000 บาท
- มีกำไรสุทธิ 100,000 บาท
คำนวน
1,000,000 บาท ÷ 100,000 บาท
ซึ่งหมายความว่าบริษัทสามารถทำกำไรได้ 10 บาทจากทุกๆ 100 บาทของรายได้
หรืออัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ 10%
Net Profit Margin ที่ดีควรเป็นเท่าไหร่?
ซึ่ง Net Profit Margin อาจจะบอกไม่ได้ว่าเท่าไหร่ที่ดีจะมีค่าสูง หรือต่ำ โดยทั่วไปแล้วมักจะใช้ในการเปรียบเทียบกับคู่แข่งโดยตรงหรือค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมนั้น ๆ เพื่อบอกว่าดีหรือแย่กว่า เพราะในบางธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจบริการมักจะมี Net Profit Margin ที่สูงกว่าธุรกิจที่มีการผลิตและการที่อุตสาหกรรมนั้นมีค่า Net Profit Margin ที่สูงอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ดีเสมอไป เพราะ Net Profit Margin ที่สูงจะเป็นแรงดึงดูดคู่แข่งรายใหม่ ๆ เข้ามาในตลาดได้ง่าย โอกาสที่จะได้ผู้เล่นรายใหญ่กว่าเข้ามาในตลาดก็มีความเป็นไปได้ที่สูงเช่นกัน
ปัจจัยที่มีผลต่อ Net Profit Margin
- ต้นทุนสินค้าและบริการ (COGS) – หากต้นทุนสินค้าสูง อัตรากำไรสุทธิจะลดลง
- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน – ค่าใช้จ่ายทางการตลาด ค่าจ้างพนักงาน และค่าเช่าสำนักงานสามารถส่งผลต่อกำไรสุทธิได้
- ภาษีและดอกเบี้ยเงินกู้ – ธุรกิจที่มีภาระภาษีสูงหรือดอกเบี้ยเงินกู้จำนวนมากจะมีอัตรากำไรสุทธิต่ำ
- ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ – การควบคุมต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานสามารถช่วยเพิ่มอัตรากำไรสุทธิได้
- การแข่งขันในตลาด – หากการแข่งขันสูง ธุรกิจอาจต้องลดราคาขายลง ซึ่งส่งผลให้กำไรลดลง
วิธีปรับปรุง Net Profit Margin หากธุรกิจต้องการเพิ่มอัตรากำไรสุทธิ
- เพิ่มรายได้ โดยการขยายตลาด หรือเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์/บริการ
- ลดต้นทุน โดยการหาผู้จัดหาสินค้าหรือวัตถุดิบที่มีต้นทุนต่ำลง
- ปรับปรุงกระบวนการทำงาน เช่น ใช้เทคโนโลยีเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
- เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารภาษีและเงินกู้ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายทางการเงิน
สรุป
อัตรากำไรสุทธิเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่บอกว่าธุรกิจสามารถทำกำไรได้จริงหลังจากหักต้นทุนและค่าใช้จ่ายทั้งหมด หากอัตรากำไรสูง แสดงว่าธุรกิจมีประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนและสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับเจ้าของและนักลงทุน ในทางกลับกัน หากอัตรากำไรต่ำหรือขาดทุน อาจต้องปรับกลยุทธ์ด้านต้นทุน การตั้งราคา หรือการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว
สามารถเข้าไปดูบทความอื่นๆได้ที่ : https://rdbi.co.th/blog/
ปรึกษาหรือสอบถามเกี่ยวกับการใช้งาน Net Profit Margin ได้ที่
เพจ : http://bit.ly/rdbipage
Facebook : https://www.facebook.com/RandDBI/
Line OA : @rdbi
Tel : 02-681-9700
อีเมล์ : sales@rdbi.co.th🌟