” ISERVE Method ” ช่วยตัดสินใจให้เฉียบคมไม่พลาด

March 7, 2025

by Napat Rammanu

ISERVE

การตัดสินใจในธุรกิจเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ในการสร้างความสำเร็จและความเจริญก้าวหน้าให้กับธุรกิจการตัดสินใจอย่างถูกต้องจะทำให้ธุรกิจเป็นไปแนวทางที่ดี และการตัดสินใจที่ผิดก็สามารถสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจอย่างมากเช่นกัน ดังนั้นการตัดสินใจจึงต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผล และ ไม่ตัดสินใจโดยใช้อารมณ์ที่ไม่มีข้อมูลหรือกระบวนการใดมารองรับ ISERVE Method จึงเป็นเครื่องมือที่จะมาช่วยให้การตัดสินใจดีขึ้น เป็นขั้นตอนและลดความเสียหายจากการตัดสินใจที่พลาดและเรียนรู้จากสิ่งที่พลาดเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น

มีขั้นตอนอะไรบ้าง

1. I: Identify the problem (ระบุปัญหา)

เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจปัญหา ระบุว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องแก้ไข และมันส่งผลกระทบอย่างไร ต้นตอของปัญหาที่แท้จริงคืออะไร เช่น “เมื่อเกิดปัญหายอดขายสินค้าตก” แล้วพยายามกระตุ้นยอดขาย ด้วยการลดราคา หรือทำโปรโมชั่นสาเหตุของปัญหา อาจไม่ได้อยู่ที่ราคา แต่อาจเป็นคุณภาพหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ไม่ได้ตอบโจทย์ลูกค้า หรือลูกค้าเปลี่ยนไปซื้อในช่องทางอื่นๆ ที่มีการบริการจัดส่งให้ถึงบ้าน แต่ธุรกิจของเรา สินค้าของเรายังไม่ได้ทำแบบนั้น

2. S: Search for solutions (ค้นหาแนวทางแก้ไข)

คิดหาแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้ โดยไม่จำกัดไอเดียในช่วงแรกจากตัวอย่างข้างบนเรื่องปัญหายอดขายสินค้าตก แนวทางที่แก้ไขโดยมาก มักจะ ทำโปรโมชั่น หรือเลือกที่จะหยุดขายสินค้าตัวนั้นๆ โดยเน้นแก้ปัญหาระยะสั้น ทั้งๆที่มีทางเลือกอื่นที่ทำให้เราไม่ต้องสูญเสียเงินและช่วยแก้ปัญหาได้ดีกว่าเช่นการ กลับไปดูที่ต้นตอของปัญหา การพัฒนาสินค้าควบคู่ไปกับการจัดโปรโมชั่น ให้คนได้ทดลองใช้ และเก็บข้อมูล Feedback มาพัฒนาสินค้าต่อ ดังนั้นเราควรเก็บข้อมูล และสร้างทางเลือกเพิ่มเติม เพื่อรับมือกับอนาคตเสมอ เพื่อที่เราไม่ต้องใช้ทางเลือกที่เน้นแก้ปัญหาระยะสั้นที่ไม่ช่วยแก้ต้นตอของปัญหาโดยตรงและทำให้สูญเสียเงินไปเป็นจำนวนมาก

3. E: Evaluate options (ประเมินตัวเลือก)

นำตัวเลือกแต่ละทางมาประเมินข้อดีข้อเสีย เลือกสิ่งที่เหมาะสมที่สุดหลังจากสำรวจทางเลือกในการแก้ไขปัญหาแล้ว ให้ประเมินแต่ละทางเลือกมีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร มีต้นทุนเท่าไหร่ ทำได้เร็วแค่ไหน ใช้พนักงานกี่คน ใช้เวลาแค่ไหนถึงจะเห็นผลลัพธ์ ถ้าเลือกทางเลือกนี้ มีค่าเสียโอกาส โอกาสที่จะประสบความสำเร็จกี่เปอร์เซ็นต์ ผลตอบแทนในการลงทุนได้เท่าไหร่ เปรียบเทียบในแต่ละตัวเลือก และเลือกสิ่งที่ตอบโจทย์เราที่สุด

4. R: Resolve (ตัดสินใจ)

เลือกตัวเลือกที่ดีที่สุดและลงมือปฏิบัติอย่างมั่นใจเมื่อมีข้อมูลพร้อมแล้ว ประเมินทางเลือกแล้ว ก็ควรต้องตัดสินใจ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์โดยพิจารณาถึง 2 ปัจจัยร่วมด้วย คือ 1. ผลกระทบ 2.โอกาสในการแก้ไข หากผลกระทบมากโอกาสในการแก้ไขน้อยควรใช้เวลาพิจารณาให้มาก แต่ถ้าเราเพิ่มทางเลือกเข้ามาก็ต้องใช้เวลาในการเก็บข้อมูลและประเมินทางเลือกเพิ่ม ซึ่งต้องไม่ลืมว่า การตัดสินใจเร็วเกินไปอาจสูญเสียโอกาสและทางเลือกที่ดีกว่าไปด้วย ส่วนการตัดสินใจที่ช้าเกินไปทำให้สูญเสียเวลา และความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจที่มีการพัฒนาตลอดเวลา

5. V: Verify safety (ทบทวนความปลอดภัย)

หลังจากลงมือทำแล้ว ให้หยุดทบทวนผลลัพธ์ว่าได้ผลตามที่คาดหวังหรือไม่ และปรับปรุงหากจำเป็นเมื่อเราได้ตัดสินใจแล้ว โดยเลือกทางเลือกใด ทางเลือกหนึ่ง จากนั้นให้ทำการเก็บข้อมูล ผลที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจในแต่ละทางเลือก สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะได้ตามความคาดหวังหรือไม่ เราต้องเรียนรู้ ปรับตัว ให้พร้อมกับทุกๆ สถานการณ์ ถ้าคิดว่าทางเลือกดูดี แต่ยังไม่มั่นใจในทางเลือกนั้นๆ ควรเริ่มทำแบบเล็กๆ ความเสี่ยงต่ำก่อน ประเมินสัญญาณทั้งเชิงบวกและเชิงลบอยู่เสมอ

6. E: Extract lessons (สรุปบทเรียน)

“คุณภาพของการตัดสินใจครั้งหนึ่งไม่ได้ถูกกำหนดโดยคุณภาพของผลลัพธ์ที่ออกมา” การตัดสินใจที่ถูกต้อง บางครั้งอาจไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ ดังนั้น ให้มุ่งเน้นที่กระบวนการในการตัดสินใจ ไม่ใช่ผลลัพธ์สะท้อนผลลัพธ์จากการตัดสินใจ เรียนรู้และพัฒนาทักษะเพื่อนำไปใช้ในอนาคต

สามารถเข้าไปดูบทความอื่นๆได้ที่ : https://rdbi.co.th/blog/

ปรึกษาหรือสอบถามได้ที่

เพจ : http://bit.ly/rdbipage
Facebook : https://www.facebook.com/RandDBI/
Line OA : @rdbi
Tel : 02-681-9700
อีเมล์ : sales@rdbi.co.th🌟

Share this post:
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp

Discover more articles