Business Understanding ยิ่งเข้าใจยิ่งตอบโจทย์

March 12, 2025

by Napat Rammanu

Under

Business Understanding เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มวิเคราะห์ข้อมูล โดยเป็นการเริ่มทำความเข้าใจว่าธุรกิจต้องการอะไรเข้ามาตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาโดยใช้ข้อมูล หรือใช้เทคโนโลยีอื่นๆมาช่วย หากเริ่มต้นวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจได้ ไม่เพียงแต่จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่นำมาแก้ไขปัญหาได้ แต่ยังจะสามารถมองภาพรวมของธุรกิจและปรับเปลี่ยนเครื่องมือต่างๆที่พัฒนาไปตามการพัฒนาของเทคโนโลยีในอนาคตได้อีกด้วย

Business Understanding cover

ขั้นตอนการทำ Business Understanding

ในขั้นตอนการทำ Business Understanding หลักๆจะเป็นการค้นหาปัญหาที่มีของธุรกิจและวิเคราะห์ปัญหาที่มีนั้นออกเป็นส่วนๆ และลำดับขั้นตอนการแก้ไข โดยจะแบ่งเป็น 4 อย่างคือ

1. กำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ (Determine Business Objectives)

การเริ่มต้นในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจเพื่อใช้ข้อมูลมาแก้ปัญหา เราต้องเริ่มต้นจากการดูที่ตัวธุรกิจเราก่อนว่า ต้องการนำข้อมูลหรือเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ไขปัญหาในส่วนใด และมีส่วนไหนบ้างที่ข้อมูลสามารถแก้ไขปัญหาได้และมีส่วนใดบ้างที่ต้องการใช้เทคโนโลยีอื่นมาช่วย โดยการเริ่มตั้งคำถามดังนี้
1. ผลลัพธ์แบบไหนที่ธุรกิจต้องการ? (รายงาน, Dashboard, คำแนะนำเชิงกลยุทธ์ ฯลฯ)
2. มีปัจจัยอะไรที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายของธุรกิจบ้าง?
3. บุคลากร/คนที่มีทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูล

การตั้งคำถามเหล่านี้เพื่อให้มองเห็นปัญหาในภาพรวม และมองเห็นถึงวิธีการแก้ไขปัญหาได้แบบครอบคลุมทั้งเรื่องการใช้ข้อมูล ผลลัพธ์ที่ต้องการ และปัจจัยที่มีผลเกี่ยวข้อง

2.ประเมินสถานการณ์ (Assess Situation)

การประเมินสถานการณ์จากปัจจัยต่างๆขององค์กรเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรารู้ภาพรวมขององค์กรทั้งเรื่องโครงสร้างขององค์กร ทรัพยากรที่มี และข้อจำกัดด้านต่างๆเพื่อออกแบบโครงสร้างที่จะสามารถนำมาช่วยแก้ไขปัญหาภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้ โดยควรมีการทำ SWOT Analysis เพื่อแสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนจุดแข็งของธุรกิจ และวิธีการแก้ไขของจุดอ่อนและจุดแข็งแต่ละจุดนั้น เช่น

  1. หากประเมินว่าต้นทุนในการทำโครงการมีน้อยก็อาจเลือกใช้เครื่องมือที่มีราคาที่ต่ำแต่สามารถใช้งานฟังชั่นต่างๆ ตามความต้องการได้
  2. หากประเมินว่าธุรกิจมีความพร้อมทรัพยากรในการใช้เครื่องมือที่ราคาแพง ประสิทธิภาพสูง แล้วจะสามารถช่วยให้องค์กรสร้างผลกำไรได้ก็สามารถพัฒนาต่อได้ในทันที
3. กำหนดแนวทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (Guidelines for Data Analysis)

หลังจากเข้าใจวัตถุประสงค์ทางธุรกิจและสถานการณ์ ผู้บริหารพิจารณาบุคลากรในบริษัท มีทักษะเพียงพอในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือไม่ ถ้าไม่มีจะ Outsource ทีมวิเคราะห์ข้อมูล ดีกว่าไหม  และต้องกำหนดแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของธุรกิจ โดยต้องนำข้อมูลที่ได้มาตอบคำถามดังนี้

  1. ผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไร? (โมเดลที่สามารถทำนายผลได้, Dashboard ที่ใช้งานง่าย ฯลฯ)
  2. เราจะวัดความสำเร็จของงานได้อย่างไร?
4.จัดทำแผนโครงการ (Produce Project Plan)

หลังจากแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว จะต้องมีแผนงานที่ชัดเจน สำหรับการดำเนินโครงการ โดยตั้งคำถามดังนี้

  • โครงการมีระยะเวลากี่เดือน และแบ่งออกเป็นกี่ขั้นตอน?
  • ต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง (บุคลากร, งบประมาณ, ซอฟต์แวร์, ฮาร์ดแวร์ ฯลฯ)
  • เครื่องมือหรือเทคโนโลยีใดที่จะถูกนำมาใช้?

สรุป

การทำ Business Understanding เป็นจุดเริ่มต้นของการประเมินและวิเคราะห์ธุรกิจก่อนที่จะนำเครื่องมือต่างๆมาใช้แก้ไขปัญหา และยิ่งไปกว่านั้นก็เป็นการกลับมามองให้เห็นถึงภาพรวมของธุรกิจที่ผ่านมาว่ามีจุดไหนที่สามารถปรับปรุงและพัฒนาต่อได้ หากไม่มี Business Understanding ที่ชัดเจน งานส่วนอื่นก็คงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ก็ไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาของธุรกิจและไม่พบวิธีแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง

สามารถเข้าไปดูบทความอื่นๆได้ที่ : https://rdbi.co.th/blog/

ปรึกษาหรือสอบถามเกี่ยวกับการทำ Business Understanding ได้ที่

เพจ : http://bit.ly/rdbipage
Facebook : https://www.facebook.com/RandDBI/
Line OA : @rdbi
Tel : 02-681-9700
อีเมล์ : sales@rdbi.co.th🌟

Share this post:
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp

Discover more articles