บริหารข้อมูลอย่างไร ให้ธุรกิจไปไกลกว่าเดิม

October 11, 2024

by Nuchanat Rongroang

ทุกวันนี้ การซื้อขายออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของใครหลายคน ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องทำความเข้าใจและตามให้ทัน เพราะนั่นหมายถึงช่องทางการขายที่เพิ่มขึ้น ตลาดที่ใหญ่ขึ้น และยังเป็นการตอบสนองพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ในขณะเดียวกัน การซื้อขายผ่านระบบออนไลน์นั้น เราจะไม่ได้พบปะหรือพูดคุยกับลูกค้าโดยตรง ดังนั้น การเก็บข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจลูกค้าจึงเป็นเรื่องที่ผู้ค้าออนไลน์ควรให้ความสำคัญ เพราะนั่นอาจหมายถึงความยั่งยืนของธุรกิจก็ว่าได้

เราทราบกันดีว่า การบริหารองค์กรที่ดี ควรมีการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งการตัดสินใจโดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบ ย่อมดีกว่าการตัดสินใจตามความรู้สึกอย่างแน่นอน โดยการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์นั้นมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ขององค์กรที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลนั้น อาทิ
•    ข้อมูลลูกค้า การวิเคราะห์ลูกค้าเก่า ใหม่ วิเคราะห์กลุ่มลูกค้า ซื้อมาก ซื้อน้อย ซื้อบ่อยแค่ไหน และมีผลต่อการมีพนักงานขายที่ดูแลลูกค้าแต่ละราย ซึ่งเราก็สามารถบริหารจัดการงานของพนักงานขายได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
•    ข้อมูลช่องทางการขาย ช่องทางการขายไหนขายดี และสินค้าขายดีแต่ละช่องทางเป็นอย่างไร
•    ข้อมูลพนักงานขาย หากต้องการวิเคราะห์พนักงานขายก็สามารถทำได้ พนักงานขายคนไหน ขายได้ยอดเยอะ และสินค้าไหนที่พนักงานคนนั้นขายได้บ้าง เปรียบเทียบเป้าหมาย ทำได้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ 
•    การซื้อขายสินค้า เปรียบเทียบข้อมูลการซื้อขายแต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ละปี หรือ เปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลังเป็นปี ๆ ได้
•    การจัดแบ่งกลุ่มของข้อมูล สามารถแบ่งได้ตามรูปแบบการบริหารขององค์กร และมีผลต่อการบันทึกข้อมูลเข้าในระบบ ถ้าต้องการวิเคราะห์ข้อมูลแบบไหนแล้ว ข้อมูลที่มีไม่ตอบโจทย์ก็อาจต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบในการบันทึกข้อมูลใหม่ ให้สามารถนำไปสู่การวิเคราะห์ได้ 

ถ้าจะให้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้น เรามีตัวอย่างในการวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับธุรกิจประเภทซื้อมาขายไป ซึ่งอาจจะแบ่งเป็นเรื่องหลัก ๆ ดังนี้

1. การขายสินค้า

•    สินค้าตัวไหนขายดีที่สุด 10 อันดับแรก แยกตาม Brand, แยก Category, แยกตามชนิด เป็นต้น ขึ้นอยู่มุมมองของแต่ละบริษัท เมื่อรู้ข้อมูลเหล่านี้แล้ว ผู้จัดการฝ่ายขายก็สามารถไปกำหนดกลยุทธ์ต่อได้
•    ขายสินค้าตัวไหนขายได้กำไรดี Margin สูง ถ้าคิด Gross Profit แยกตาม Product ด้วยจะยิ่งดีมาก ๆ
•    สินค้าตัวไหนขายไม่ออก ในช่วง 3 เดือนนี้ (ต้องตัดสินค้าที่ขายตาม Seasoning ออกนะ เพราะบางตัวอาจไม่ได้ขายตลอดทั้งปี)
•    สินค้าตัวไหนขายไม่ได้กำไร หรือ Margin ต่ำ และถ้าคิด Gross Profit อาจจะขาดทุนเลยก็ได้ ปกติธุรกิจซื้อมาขายไปมักมีต้นทุนในการซื้อสินค้าอยู่แล้วอย่างชัดเจน สามารถเอาต้นทุนในการขาย และบริหารจัดการ มาถัวเฉลี่ยแยกเป็นรายผลิตภัณฑ์ได้จะดีมาก เพื่อให้รู้ว่าสินค้าตัวไหนมี Margin ต่ำ และควรเลิกขายสินค้านั้นไป ผู้บริหารบางแห่งอาจจะบอกว่า มีบางผลิตภัณฑ์ยังไงก็ต้องขาย เพราะมีคู่แข่งเยอะ Margin เลยต่ำ ผู้บริหารควรลองกำหนดกลยุทธ์ใหม่ ที่ไม่ต้องแข่งขันทางด้านราคา เพื่อให้องค์กรสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน หรือหาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มีคู่แข่งน้อยมาขาย เพื่อให้ได้ Margin สูง ๆ

2. ช่องทางการจัดจำหน่าย หน้าร้านหรือ Shop / Sales

ปกติธุรกิจซื้อมาขายไปมักต้องมี shop, sales เพื่อช่วยในการขายสินค้าและกระจายสินค้า จะเรียกรวมว่าเป็นช่องทางในการจัดจำหน่ายก็ได้ เนื่องจากปัจจุบันมีทั้งแบบ Online, Offline ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่มักขายหลายช่องทาง เพื่อให้ลูกค้าสามารถซื้อหาได้ง่าย ๆ โดยช่องทางออนไลน์ ได้แก่ ขายบนเว็บไซต์ของบริษัทเอง ขายผ่าน Market place เช่น Lazada, Shopee ขายผ่าน Line@ ขายผ่าน Instagram ฯลฯ ส่วนช่องทางออฟไลน์ ได้แก่ ขายผ่านหน้าร้าน Shop ขายผ่าน Catalog ขายผ่านบูธ ขายผ่านพนักงานขาย/ ตัวแทนจำหน่าย

สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ก็มักจะพิจารณาตามช่องทางการจัดจำหน่าย เช่น
•    รายได้จากช่องทางการจัดจำหน่ายไหนดีที่สุด
•    ต้นทุนในการขายสินค้าช่องทางไหนสูงที่สุด
•    กำไรในการขายสินค้าช่องทางไหนสูงที่สุด
•    กำไร/รายได้ x 100 จากแต่ละช่องทาง เปรียบเทียบกันว่าช่องไหนได้สัดส่วนกำไรสูงกว่ากัน เพื่อจะได้โฟกัสช่องทางการจัดจำหน่ายนั้น ๆ

3. สต๊อกสินค้า

•    สินค้าค้างสต๊อกมานานแค่ไหนแล้ว ถ้าจัดกลุ่มของสต๊อกสินค้าแบ่งเป็น 30 วัน 60 วัน 90 วัน 120 วัน และมากกว่า 120 วันก็จะดีมาก ยิ่งถ้าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่มีอายุของสินค้า จะยิ่งต้องคำนึงถึงมาก ๆ และต้องหากลยุทธ์มาบริหารจัดการสต๊อกสินค้าให้ออกไปก่อนที่จะหมดอายุ
•    การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดการสต๊อกสินค้า เช่น
–    บอกสถานะการสต๊อกสินค้า สินค้าชนิดไหนสต๊อกมากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากับที่มี Order จากลูกค้า หรือประมาณการยอดขายของ Sales
–    สินค้าชนิดไหน ค้างสต๊อกนานบ้าง แบ่งตามช่วงเวลา 30 วัน 60 วัน 90 วัน 120 วัน และมากกว่า 120 วัน

การจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในยุคปัจจุบัน หากผู้ประกอบการมีรายงาน Dashboard พร้อมใช้ ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลยอดขาย ลูกค้า สินค้าแบบละเอียด กำไรขาดทุน สต็อกสินค้า ก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากสินค้าล้นคลัง สินค้าขายไม่ออก และลดความเสี่ยงในการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ด้วย

สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ยังไม่มีความชำนาญในการบริหารจัดการหรือวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ อาจจะเลือกใช้บริการจากบริษัท R&D BI ซึ่งเป็นสมาชิกของหอการค้าฯ ได้ โดยบริษัทสามารถให้คำปรึกษาและ implement Dashboard ภาพข้อมูลทางธุรกิจ (Business Analytics/ Big Data Analytics) จัดทำ ออกแบบ และพัฒนาโซลูชั่นทางด้านธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) และโซลูชั่นสำหรับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics Solution) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารสำหรับผู้บริหารองค์กร ฯลฯ แถมยังให้สิทธิ์ทดลองใช้งานระบบรายงานการขายอัจฉริยะ ฟรี 60 วัน และส่วนลดค่าอบรม 10% ทุกหลักสูตร กับสมาชิกหอการค้าฯ อีกด้วย (ดูรายละเอียด คลิก)

Ref. บริหารข้อมูลอย่างไร ให้ธุรกิจไปไกลกว่าเดิม – Smart to Know

✨ การขับเคลื่อนธุรกิจโดยใช้ข้อมูลในการตัดสินใจให้เฉียบคม – ค้นหา Insight ที่ซ่อนอยู่ในข้อมูลของคุณ ✨
Sales and Inventory Intelligence: https://rdbi.co.th/power-bi-report-template/

💡บทความอื่นๆ เกี่ยวกับ Business Analytics : https://rdbi.co.th/category/business-analytics/

สอบถามเพิ่มเติมที่เพจ http://bit.ly/rdbipage
Line OA: @rdbi
Tel : 02-681-9700
อีเมล์ sales@rdbi.co.th🌟

Share this post:
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp

Discover more articles