ตัดสินใจในธุรกิจอย่างไรให้เฉียบคม

March 13, 2024

by Nuchanat Rongroang

การตัดสินใจอย่างเฉียบคม

การตัดสินใจในธุรกิจเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ในการสร้างความสำเร็จและความเจริญก้าวหน้าให้กับธุรกิจ
การตัดสินใจที่เฉียบคม ภายใต้ข้อมูล ความเชื่อมั่นและมั่นใจของเจ้าของหรือผู้บริหารธุรกิจ สามารถนำพาธุรกิจให้เติบโตและประสบความสำเร็จ ในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันตลอดเวลา

ธุรกิจ กับ การตัดสินใจ จึงเป็นของที่คู่กันเสมอ และนักธุรกิจจึงเป็นคนที่ต้องคอยตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา

  • จะขายดีขึ้นได้อย่างไร ? ก็ต้องตัดสินใจ
  • จะเพิ่มสินค้า ? จะนำไปขายที่ไหน ? จะขายให้ใครเพิ่มดี ? ก็ต้องตัดสินใจ
  • จะทำ Workflow อย่างไร ไม่ให้เกิดคอขวด ทำให้งานราบรื่น ? ก็ต้องตัดสินใจ
  • จะวางระบบอย่างไร ? ก็ต้องตัดสินใจ

ในแต่ละวันของการดำเนินธุรกิจ คงหนีไม่พ้นจะต้องตัดสินใจ มีเรื่องให้ตัดสินใจตลอดเวลา หากเจ้าของ ผู้บริหารตัดสินใจได้เฉียบคม จะช่วยให้ธุรกิจเติบโต ก้าวหน้า กลับกันการไม่ตัดสินใจ ทำให้คุณไม่เติบโต และอาจทำให้ธุรกิจอยู่กับที่

“การตัดสินใจจึงเป็นตัวชี้วัด ความสำเร็จหรือล้มเหลว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ”

วิธีคิดที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้เฉียบคมมากยิ่งขึ้น

บางคนตัดสินใจอะไรก็ดีไปหมด ในขณะที่บางคนตัดสินใจอะไรไปก็ผิดพลาดไปหมด ดูภายนอกเหมือนเป็นเรื่องของโชค แต่ความจริงแล้วการตัดสินใจได้ดีนั้นมีกระบวนการที่ช่วยให้ตัดสินได้เฉียบคมขึ้นด้วย

Shane Parrish อดีตพนักงานหน่วยข่าวกรอง ผู้ที่ต้องเผชิญกับการตัดสินใจสำคัญๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คน ได้กล่าวถึงต้นเหตุที่ทำให้การตัดสินใจไม่ดี คือ การมีความคิดที่ยังไม่เฉียบคม และได้แนะนำ 6 ขั้นตอนที่จะช่วยให้คิดได้อย่างเฉียบคม นำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้น ในหนังสือของเขา ชื่อ “Clear Thinking”

เขากล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้ความคิดของเรายังไม่เฉียบคม เกิดจากธรรมชาติของมนุษย์ ทั้งการตอบสนองไปตามอารมณ์โดยไม่รู้ตัวว่าต้องคิดให้ดีก่อน และอัตตาของตัวเอง นอกจากนี้ มนุษย์ต้องการการยอมรับจากสังคม จึงมักทำตามคนอื่น ไม่อยากดูแปลก แตกต่าง ทำให้เรามีความคิด ความเชื่อ และผลลัพธ์คล้ายคนอื่น สุดท้าย คือ ความกลัว การเปลี่ยนแปลง ทำให้ไม่กล้าตัดสินใจ เพราะไม่อยากเปลี่ยนแปลง

เพื่อลดผลกระทบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ และทำให้เราตัดสินใจได้เฉียบคมมากยิ่งขึ้น ควรมีช่วงเวลาที่ได้หยุดคิด ก่อนที่จะตัดสินใจ ใช้เหตุผลแทนที่จะตอบสนองแบบอัตโนมัติ ซึ่งต้องสร้างกระบวนการคิดที่จะช่วยให้ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้ดีขึ้น

กระบวนการตัดสินใจ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่

  1. ระบุปัญหา
  2. สำรวจแนวทางแก้ไข
  3. ประเมินทางเลือก
  4. ตัดสินใจ
  5. เว้นระยะเพื่อความปลอดภัย
  6. เรียนรู้จากการตัดสินใจ
Decision Process
Decision Process

1. ระบุปัญหา

ทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร อย่าใช้วิธีแก้ปัญหาระยะสั้นไปก่อน โดยไม่ได้คำนึงถึงสาเหตุของปัญหาที่ซ่อนอยู่ ดังนั้น ต้องให้เวลาตัวเอง ถ้าเรามองไม่เห็นสาเหตุของปัญหาในครั้งแรก ลองถามตัวเองว่า อะไรบ้างที่จะทำให้ปัญหานี้ไม่เกิดขึ้นตั้งแต่แรก เพื่อหาต้นตอที่แท้จริงของปัญหา มุมมองนี้เองที่จะทำให้เรามองเห็นที่มาของปัญหา และมองเห็นวิธีแก้ปัญหาต่อไป เช่น

“เมื่อเกิดปัญหายอดขายสินค้าตก” แล้วพยายามกระตุ้นยอดขาย ด้วยการลดราคา หรือทำโปรโมชั่น

สาเหตุของปัญหา อาจไม่ได้อยู่ที่ราคา แต่อาจเป็นคุณภาพหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ไม่ได้ตอบโจทย์ลูกค้า

หรือลูกค้าเปลี่ยนไปซื้อในช่องทางอื่นๆ ที่มีการบริการจัดส่งให้ถึงบ้าน แต่ธุรกิจของเรา สินค้าของเรายังไม่ได้ทำแบบนั้น

2. สำรวจแนวทางแก้ไข

จากตัวอย่างข้างบนเรื่องปัญหายอดขายสินค้าตก แนวทางที่แก้ไขโดยมาก มักจะทำแบบนี้  

1) ทำโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม หรือ
2) หยุดขาย กลับมาพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพมากขึ้นและตอบโจทย์
ซึ่งทางเลือกแรกเป็นทางเลือกที่เน้นแก้ปัญหาระยะสั้น

ส่วนอีกทางเลือก คือ กลับไปดูที่ต้นตอของปัญหา การพัฒนาสินค้าควบคู่ไปกับการจัดโปรโมชั่น ให้คนได้ทดลองใช้ และเก็บข้อมูล Feedback มาพัฒนาสินค้าต่อ

ดังนั้น เราควรเก็บข้อมูล และสร้างทางเลือกเพิ่มเติม เพื่อรับมือกับอนาคตเสมอ

สำรวจหาแนวทางแก้ไขที่มีหลายทางมากขึ้น จากตัวอย่างปัญหายอดขายสินค้าตก เช่น

– เพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในกลุ่มลูกค้าที่ต้องการคุณภาพ และสามารถขายในราคาสูงด้วย

– ถ้าลูกค้าที่ไม่ได้ต้องการคุณภาพ ก็ปรับลดคุณสมบัติของสินค้าให้ลดลง ทำราคาให้สมเหตุสมผล คุ้มค่า

เพราะความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มย่อมไม่เหมือนกัน

นอกจากเพิ่มสินค้า แนวทางแก้ไขอีกทาง คือ เพิ่มช่องทางการขาย ในสินค้าตัวเดิมที่มีอยู่ จากเดิมขายในห้างสรรพสินค้า หรือในร้านสาขา  ก็เพิ่มการขายบนออนไลน์ใน Platform ขายออนไลน์ เช่น Lazada Shopee TikTok ขายบนเว็บไซด์ของบริษัท จัดส่งด้วยขนส่งเอกชน และเก็บข้อมูลการขายสินค้าในแต่ละช่องทาง เพื่อรู้ว่าช่องทางไหน ลูกค้าของเราเป็นใครบ้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าในแต่ละช่องทางให้ลึกขึ้น หา Insight ของลูกค้า ในแต่ละช่องทางการขาย  

3. ประเมินทางเลือก

หลังจากสำรวจทางเลือกในการแก้ไขปัญหาแล้ว ให้ประเมินแต่ละทางเลือกมีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร มีต้นทุนเท่าไหร่ ทำได้เร็วแค่ไหน ใช้พนักงานกี่คน ใช้เวลาแค่ไหนถึงจะเห็นผลลัพธ์ ถ้าเลือกทางเลือกนี้ มีค่าเสียโอกาส โอกาสที่จะประสบความสำเร็จกี่เปอร์เซ็นต์ ผลตอบแทนในการลงทุนได้เท่าไหร่  เปรียบเทียบในแต่ละตัวเลือก

จากตัวอย่างข้างบน เราต้องประเมินว่าทางเลือกไหนเหมาะสมที่สุด ทำได้เร็วสุด ใช้ต้นทุนต่ำ และคาดว่าจะมีโอกาสสำเร็จสูงสุด

4. ตัดสินใจ

เมื่อมีข้อมูลพร้อมแล้ว ประเมินทางเลือกแล้ว ก็ควรต้องตัดสินใจ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์

บางคนอาจยังไม่กล้าตัดสินใจ เพราะอะไร กลัวการตัดสินใจผิดพลาด ?
ในทางตรงกันข้ามบางคนตัดสินใจทันที ทั้งๆ ที่ยังไม่พร้อม

ซึ่งการจะรู้ว่าตนเองพร้อมแล้วหรือยัง ให้พิจารณาที่ 2 ปัจจัย คือ ผลกระทบจากผลลัพธ์มีมากน้อยแค่ไหน
ถ้าผิดพลาดสามารถแก้ไขได้หรือไม่ ยิ่งผลกระทบสูง และมีโอกาสแก้ไขน้อย ยิ่งต้องใช้เวลาในการตัดสินใจให้มาก
แต่ถ้าเราเพิ่มทางเลือกเข้ามาอีก ก็ต้องใช้เวลาเก็บข้อมูล และประเมินทางเลือกที่เพิ่มขึ้นอีก

อย่าลืมว่า!! บางเรื่องต้องการตัดสินใจโดยด่วน ช้าเกินไปอาจสูญเสียโอกาส และทางเลือกจะเริ่มลดลงด้วย

อย่าลืมว่า!! คู่แข่งในอุตสาหกรรมยังคงดำเนินธุรกิจ เค้าไม่ได้หยุด และถ้าเราไม่ทำอะไร นั่นยิ่งทำให้คู่แข่งนำเราไปตลอดเวลา

จากตัวอย่าง ยอดขายสินค้าตก ถ้ายังรอดูต่อไปโดยไม่ทำอะไร เพื่อเก็บข้อมูลและหวังให้ยอดขายกลับมา แต่กำไรกลับยิ่งหดหาย เพราะสินค้าเริ่มค้างสต๊อกเยอะ และคนไม่ได้สนใจสินค้าตัวนี้อีกต่อไปแล้ว การจะจัดโปรโมชั่นตอนนี้อาจไม่ได้ช่วยอีกต่อไป ทางเลือกก็จะหายไป แถมอาจต้องสูญเสียโอกาสที่จะนำสินค้าที่ขายดีอยู่แล้วมาขายเพิ่มอีกด้วย

5. เว้นระยะเพื่อความปลอดภัย

ระยะปลอดภัย คือ ระยะห่างระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เราต้องวางแผนรับมือความผิดพลาดล่วงหน้า และเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับสถานการณ์ต่างๆ  

เมื่อเราได้ตัดสินใจแล้ว โดยเลือกทางเลือกใด ทางเลือกหนึ่ง จากนั้นให้ทำการเก็บข้อมูล ผลที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจในแต่ละทางเลือก สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะได้ตามความคาดหวังหรือไม่ เราต้องเรียนรู้ ปรับตัว ให้พร้อมกับทุกๆ สถานการณ์ ถ้าคิดว่าทางเลือกดูดี แต่ยังไม่มั่นใจในทางเลือกนั้นๆ ควรเริ่มทำแบบเล็กๆ ความเสี่ยงต่ำก่อน ประเมินสัญญาณทั้งเชิงบวกและเชิงลบอยู่เสมอ  

6. เรียนรู้จากการตัดสินใจ

“คุณภาพของการตัดสินใจครั้งหนึ่งไม่ได้ถูกกำหนดโดยคุณภาพของผลลัพธ์ที่ออกมา”
การตัดสินใจที่ถูกต้อง บางครั้งอาจไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ
ดังนั้น ให้มุ่งเน้นที่กระบวนการในการตัดสินใจ ไม่ใช่ผลลัพธ์
เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ไม่สามารถควบคุมได้
แต่กระบวนการเป็นสิ่งที่แน่นอน ตายตัว มีกฎเกณฑ์ และเราเป็นคนควบคุม พยายามเก็บบันทึกความคิดขณะที่กำลังตัดสินใจ เพื่อเอาไปปรับปรุงกระบวนการคิดในครั้งถัดไป

ก่อนจะเริ่มตัดสินใจทำอะไร โดยเฉพาะในเรื่องที่สำคัญอย่างการตัดสินใจในธุรกิจ ให้หยุด เพื่อให้เวลาตัวเองเวลาในการตัดสินใจก่อน ลองใช้ทั้ง 6 ขั้นตอนนี้ดู จะช่วยให้กระบวนการคิดก่อนที่จะตัดสินใจดีขึ้น และการตัดสินใจจะเฉียบคมขึ้น

อ้างอิง กระบวนการในการตัดสินใจ จากหนังสือ “Clear Thinking คิดให้เฉียบคม” โดย Shane Parrish

อ้างอิง มีการดัดแปลงและปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติม บทความดั้งเดิมจากเพจ “ทำที่บ้าน” เพราะบทความนี้ตรงกับที่เราทำระบบพอดี และ AI Facebook ทำให้เราได้มาเจอกัน ก่อนหน้านี้ไม่เคยรู้จักเพจนี้มาก่อน ขอบคุณมากๆ ค่ะ สามารถอ่านบทความต้นฉบับได้จาก เพจ “ทำที่บ้าน

สนใจวิเคราะห์ข้อมูลการขาย วิเคราะห์ลูกค้า วิเคราะห์ช่องทางการขาย แบบสะดวก รวดเร็ว ใช้งานง่าย ค้นหา Insight ของข้อมูล และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของท่าน

“ระบบรายงานการขายอัจฉริยะ ระบบรายงานคลังสินค้าอัจฉริยะ”

https://rdbi.co.th/power-bi-report-template/

หากต้องการดู Demo Report สามารถติดต่อเราได้ ตามรายละเอียดด้านล่าง

https://rdbi.co.th/demo-sales-sample-report/

สอบถามเพิ่มเติมได้เลยค่ะ
เว็บไซด์ RDBI : https://rdbi.co.th/contact/
เพจ Facebook :  
Line official Account : @rdbi
อีเมล์: sales@rdbi.co.th
โทร: 064-798-4192

#DecisionMaking
#SalesIntelligence
#InventoryIntelligence
#BusinessIntelligence
#ClearThinking
#OmniChannel

Share this post:
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp

Discover more articles