1. ช่องทางการขายหลายช่องทาง
ทั้งหน้าร้านสาขา ทั้งออนไลน์บนเว็บไซต์ เช่น Line OA, TikTok, Shopee, Lazada ข้อมูลมีกระจัดกระจายหลายที่ บางช่องทางไม่รู้ตัวตนลูกค้า ดังนั้น ควรเก็บข้อมูลลูกค้าในทุกช่องทางที่ติดต่อเข้ามา เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า ปัจจุบันช่องทางในการขายออนไลน์มีหลายช่องทาง เมื่อเราเก็บข้อมูลจากทุกช่องทาง เราอาจพบปัญหาต่อมาคือ ลูกค้าคนเดียวกัน แต่มีการซื้ออยู่หลายช่องทาง อาจไปซื้อบนเว็บไซต์ หรือใน Lazada Shopee หรือ TikTok ก็ได้ ถ้าโปรโมชั่น หรือคูปองในแต่ละ App โดนใจลูกค้า ดังนั้น ในองค์กรธุรกิจ ควรมีวิธีการจัดการกับข้อมูลจากหลายแหล่งที่กระจัดกระจายมารวมไว้ในที่เดียวกัน แล้วจึงจะวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า และค้นหา Insight ของลูกค้าแต่ละรายได้อย่างถูกต้อง
2. การขายสินค้าหลาย SKU
ในร้านค้ามักมีสินค้าจำนวนมาก เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายสินค้า และให้ลูกค้ามีทางเลือกในการซื้อสินค้ามากขึ้น บางธุรกิจมีสินค้ามากกว่า 2,000 SKU ถ้าสินค้าของเรามีหลาย SKU หลายแบรนด์ หลาย Supplier เราก็ควรจะมีการเปรียบเทียบข้อมูล สินค้าที่เรานำมาขาย สินค้าไหนขายดี สินค้าไหนลูกค้าชอบ แบรนด์ไหนที่ขายดี จะได้วิเคราะห์สินค้าแบบไหนที่ลูกค้าชอบ รวมถึงสินค้าไหนที่ขายไม่ได้ ขายไม่ดีแล้ว จะได้ไปแก้ไขปัญหา หรือจัดการก้บสินค้านั้นๆ ต่อไป
3. การติดตามความเคลื่อนไหวในการขายเทียบกับเป้าหมาย
ปกติพนักงานขายแต่ละคนจะได้เป้าหมายยอดขายหรือในองค์กรอาจมีการตั้งเป้าหมายหรือ KPI หลายแบบ เมื่อมีการตั้งเป้าหมาย ก็ควรมีการแสดงข้อมูลยอดขายที่ทำได้จริงเทียบกับเป้าหมายในแต่ละวัน เดิอน ปี ทั้งยอดแต่ละบุคคล แต่ละแบรนด์ แต่ละสาขา เพื่อให้เห็นสิ่งที่ทำได้จริงๆ เพื่อวัดประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคล แบรนด์ และสาขา
4. สต๊อกสินค้าไม่ตรง สินค้าค้างสต๊อก
ถ้าธุรกิจของเราสต๊อกสินค้าหลายล้านบาท และในแต่ละวันมียอดขายหลายล้าน เมื่อไหร่ที่พบว่าสต๊อกสินค้าไม่ตรง ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม เจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารมีความกังวลหรือไม่ อาจเพราะสินค้าเยอะหลายพัน SKU และมีหลายสาขา และมีของที่กำลังจะส่งในแต่ละช่องทาง ยิ่งมีความเสี่ยงสูงมาก ที่จะขาดทุน ถ้าไม่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ ข้อแนะนำ ควรมีระบบจัดการคลังสินค้า เพื่อใช้บันทึกสินค้าเข้า ออก ดูรายการสินค้าได้ตลอด รู้ว่าสินค้าอยู่ตรงไหน เท่าไหร่ สินค้าไหนหมด สินค้าไหนเยอะเกินไป สินค้าไหนค้างสต๊อกมานาน ที่บริษัทเคยเช็คสต๊อกสินค้าเหล่านี้ไหม แล้วมูลค่าสินค้า Dead Stock เหล่านี้มีมูลค่าเท่าไหร่ และลดความเสี่ยงเรื่องสินค้าค้างสต๊อกได้อีกด้วย จะได้ไปจัดโปรโมชั่นหรือย้ายสินค้าในสาขานั้น ไปขายสาขาอื่นๆ ที่ขายได้
5. สินค้าหมดอายุ
สินค้าที่มีวันหมดอายุ โดยเฉพาะสินค้าประเภทยา อาหาร เครื่องดื่ม มักมีวันหมดอายุ คุณมีวิธีจัดการกับสินค้าประเภทยา อาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีวันหมดอายุอย่างไร ส่วนใหญ่ทิ้งใช่มั้ยค่ะ หรือนำมาจัดโปรโมชั่นก่อนหมดอายุ ทำอย่างไรให้รู้ก่อนวันหมดอายุ แนวทางแก้ปัญหา ต้องมีการเก็บข้อมูลตั้งแต่ตอนรับสินค้าเข้ามาในสต๊อก ระบุวันผลิต วันหมดอายุด้วย ต้องมีพนักงานจัดทำข้อมูลสินค้าหมดอายุ ทุกๆ สัปดาห์ ทุกๆ เดือน เพื่อตรวจสอบสินค้าก่อนหมดอายุ จากนั้น ต้องบริหารจัดการสินค้าประเภทนั้นๆ โดยส่วนใหญ่มักจะเอามาจัดโปรโมชั่น ลดราคาก่อนวันหมดอายุ อาจจะก่อน 1 เดือน 2 สัปดาห์ 1 สัปดาห์ ลดกี่เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น
6. เมื่อข้อมูลมากขึ้น จะจัดการกับข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างไร
เจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารส่วนใหญ่มักต้องหาพนักงาน IT มาช่วยจัดการ หรือบางแห่งให้พนักงานขาย ทำรายงานส่ง ถ้าหากมีพนักงานขายหลายคน เจ้าของหรือผู้บริหารก็ต้องดูข้อมูลรวมทั้งบริษัท และของทุกคน การจัดการกับข้อมูลที่เพิ่มขึ้นจะยุ่งยาก ซับซ้อนมากขึ้น การหาพนักงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการจัดการกับข้อมูลก็มักมีค่าจ้างที่สูงพอสมควร หรืออาจต้องจ้างหลายคน เพื่อจัดการกับข้อมูลให้เป็นระบบ จากประสบการณ์ของทีมงานเรา พบว่า ผู้บริหาร เจ้าของธุรกิจมักพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ต้องใช้เวลาในการพัฒนาพนักงานประมาณ 2 ปี ระยะเวลาในการวางระบบให้ใช้งานได้จริง ใช้เวลาประมาณ 2 ปีเช่นกัน
7. จะวิเคราะห์การขาย วิเคราะห์คลังสินค้า ควรวิเคราะห์อะไรบ้าง
ปัญหานี้เป็นปัญหาของการทำโครงการปกติ ผู้บริหารหรือเจ้าของ ต้องมีความต้องการที่ชัดเจน พนักงานขาย พนักงานคลังสินค้า ก็ต้องบอกความต้องการได้ พนักงานที่รู้วิธีสร้างรายงาน แต่อาจไม่รู้ว่าจะสร้างรายงานอะไรดี เพื่อมาวิเคราะห์การขาย วิเคราะห์คลังสินค้า ความต้องการของพนักงานขายแต่ละคน หรือผู้บริหารแต่ละคน อาจมีผลทำให้ได้รายงานจำนวนมาก แต่ใช้งานได้คนเดียว ไ่ม่สามารถดูภาพรวมได้ และบริษัทอาจต้องมีการพัฒนาบุคลากรภายใน ให้มีความรู้ ความสามารถในการสร้างรายงานด้วยตนเอง และต้องเข้าใจความต้องการของผู้ใช้รายงาน เพราะคนสร้างไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้สร้างนั่นเอง
ปัจจุบันบริษัท อาร์ แอนด์ ดี บีไอ จำกัด มีโซลูชั่นที่ช่วยแก้ไขปัญหาการจัดการกับข้อมูลการขาย คลังสินค้า การวิเคราะห์ข้อมูลการขาย วิเคราะห์ข้อมูลคลังสินค้า ให้กับเจ้าของธุรกิจ หรือผู้บริหารค้าปลีก ค้าส่ง ร้านขายยา ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าที่มีสินค้าจำนวนมาก มีหลายสาขา ขายหลายช่องทาง ให้สามารถเรียกดูรายงานได้ทันที และจัดการกับข้อมูลให้เลย ไม่ต้องกังวลกับเรื่องเหล่านี้ ทันสมัยใช้งานง่าย คุ้มค่า ใช้งานได้จริง เหมือนมีที่ปรึกษาช่วยแนะนำ วิเคราะห์ข้อมูลในองค์กรให้เลย
ระบบรายงานการขายอัจฉริยะ จะช่วยติดอาวุธให้ธุรกิจ
วิเคราะห์ภาพรวมการขาย บริหารจัดการสาขา ช่องทางการขาย ลูกค้า สินค้า พนักงานขาย
- วิเคราะห์ภาพรวมยอดขาย เปรียบเทียบเป้าหมาย หรือเปรียบเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้า
- ดูแนวโน้มยอดขาย ทั้งรายปี รายเดือน
- วิเคราะห์ลูกค้า เช่น Top /bottom Customer กำหนดตัวเลขที่ต้องการดูได้เอง
- วิเคราะห์สินค้า เช่น Hero Product ที่มีผลต่อยอดขาย xx % กำหนด % ได้เอง
- ดูรายละเอียดของข้อมูลได้อย่างสะดวก
- ค้นหา Insight ของข้อมูล ให้เป็นเรื่องง่ายๆ
- สามารถใช้งานได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์ และมือถือ
- เก็บข้อมูลอยู่บนคลาวน์
- เป็น Interactive Report
ระบบรายงานคลังสินค้าอัจฉริยะ
– บริหารคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ ให้ได้กำไรมากยิ่งขึ้น
– โยกย้ายสินค้าในแต่ละคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- วิเคราะห์ภาพรวมคลังสินค้า
- คำนวณ Inventory Turnover Ratio
- คำนวณสินค้า Deadstock สามารถปรับเปลี่ยนเงื่อนไขได้
- ค้นหาสินค้าที่หมด Stock เพื่อเติมสต๊อกของแต่ละสาขา
- ค้นหาสินค้าที่ลูกค้าต้องการ ว่ามีสาขาอื่นไหม เพื่อโยกย้ายสินค้าในแต่ละคลัง/สาขา
– เรามี template report ที่พร้อมใช้งาน หลากหลายรูปแบบให้เลือก
– เราพร้อมให้คำแนะนำการใช้งาน และจัดการกับข้อมูลต่างๆให้ เพื่อให้ข้อมูลอัพเดทอัตโนมัติ
– เราพร้อมกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลให้ได้ หากต้องการให้ผู้บริหารแต่ละคนเห็นข้อมูลแตกต่างกัน
– ลูกค้าสามารถเห็นรายงานโดยใช้ข้อมูลขององค์กรได้เลย
– รองรับข้อมูลหลากหลายรูปแบบ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://rdbi.co.th/power-bi-report-template/
Demo Sales Report : https://rdbi.co.th/demo-sales-sample-report/
สนใจทดลองใช้งานได้ฟรี 14 วัน Request Demo
สอบถามเพิ่มเติมที่เพจ
Line official Account : @rdbi
อีเมล์: sales@rdbi.co.th
โทร: 064-798-4192