แนะนำ Tableau Software – Tableau Desktop Tableau Server

December 4, 2020

by Keattipong Daikarn

Cover TBD introduce_resize

หลังจากที่เราทำความรู้จักกับ Power BI Desktop กันไปพอสมควรแล้ว คราวนี้เราลองมาทำความรู้จักกับ BI Software อีก 1 ค่าย ที่ขึ้นชื่อเรื่องความง่าย และความน่าใช้งานของโปรแกรมที่ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานโดยเฉพาะ โดยเครื่องมือนี้ก็คือ Tableau นั่นเอง วันนี้ทางเราจะขอแนะนำให้ทุกท่านได้เข้าใจคร่าวๆ ว่าเจ้า Tableau นี้เป็นเครื่องมือแบบใด และมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง มาติดตามกันครับ

Tableau นั้นเป็นโปรแกรมหรือเครื่องมือด้าน Business Intelligence ที่เป็นที่นิยมอย่างมากอีกตัวหนึ่งในท้องตลาด ด้วยความที่ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป สามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องรู้ หรือมีทักษะด้าน Programing เลยก็ได้ สำหรับตัวผมเอง ยกให้เป็นโปรแกรมที่เกิดมาเพื่อเป็น BI Software จริงๆ ครับ ก่อนอื่นมาดูภาพรวมๆ ของการทำงานของ Tableau กันก่อนว่ามันทำงานอย่างไร

Tableau Solutions

จากภาพ ขออธิบายคร่าวๆ เพื่อความเข้าใจถึงการทำงานของโปรแกรมดังนี้

เราสามารถใช้ Tableau Desktop เชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูล เพื่อจัดการข้อมูล หรือ Data Model รวมทั้งการนำมาสร้างเป็น Visualization แต่หากข้อมูลของเรามีความผิดพลาดเยอะ จนไม่สามารถจัดการด้วย Tableau Desktop ก็สามารถใช้ Tableau Prep builder เข้ามาช่วยในการจัดการข้อมูลก่อนนำเข้ามาใช้งานบน Tableau Desktop ก็ได้

ตัวรายงานที่สร้างไว้บน Tableau Desktop เราสามารถแชร์ไปให้ผู้ใช้งานอื่นได้ใน 2 รูปแบบคือ แชร์เป็นไฟล์ Tableau package โดยผู้ใช้งานสามารถใช้ Tableau Reader เปิดดูข้อมูลรายงานได้ตามต้องการ

แบบที่สองคือทำการ Publish ขึ้นไปที่ Tableau Server หรือ Tableau Online (ขึ้นกับว่าองค์กรเลือกใช้อะไร) ผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าของรายงาน จะสามารถเข้ามาเปิดดู หรือ แก้ไขตัวรายงานบน Server ได้ตามต้องการ นั่นคือ เราสามารถเข้าถึงตัวข้อมูลของเราได้ตลอด ส่วนผู้ใช้งานอื่นสามารถเข้ามาดูหรือใช้งานตัวรายงานบน Server ได้ ผ่าน Tableau Explorer หรือ Tableau Viewer โดย Tableau Explorer นั้น ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขตัวรายงานได้ด้วย ส่วน Viewer จะดูได้เพียงอย่างเดียว

นอกจากตัวรายงานแล้ว เรายังสามารถแชร์ตัว Dataset หรือข้อมูลสำหรับจัดทำรายงาน โดยการ Publish ไปเก็บไว้บน Tableau Server/Online แล้วเปิดให้ผู้ใช้งานที่มีสิทธิ์ใช้งาน เข้ามาเชื่อมต่อ Dataset ที่เตรียมไว้ เพื่อนำไปจัดทำเป็นรายงานในรูปแบบที่ตนเองต้องการได้ด้วย

และแน่นอนว่า ข้อมูล และตัวรายงานที่จัดทำเรียบร้อยแล้วนั้น เมื่อเราทำการอัพเดทตัวข้อมูลต้นทาง ทั้ง Data Model และ Report ที่จัดทำไว้ก็จะอัพเดทตาม โดยเราสามารถกำหนดการ Refresh ของรายงานบน Server ได้ตามต้องการ

Tableau Product

จากภาพด้านบน ผมได้กล่าวถึงชื่อเครื่องมือของ Tableau หลายตัว คราวนี้เรามาทำความรู้จักเครื่องมือหลักๆ ของ Tableau ว่ามีอะไรให้เราใช้งานได้บ้าง

Tableau Desktop: เป็นโปรแกรมสำหรับติดตั้งลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน ใช้สำหรับการเชื่อมต่อกับ Data Source, การจัดการข้อมูลรวมถึงการสร้างตัวรายงานในรูปแบบ Interactive ที่สามารถวิเคราะห์หา Insight ที่ซ่อนอยู่ในข้อมูลของเราได้ Tableau Desktop สามารถรองรับ Data Source ได้หลากหลายรูปแบบ สามารถนำเข้าข้อมูลจากหลายๆ แหล่งข้อมูล แล้วนำมารวมกันเพื่อการวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อจัดทำรายงานได้

Tableau Desktop มาพร้อมเทคโนโลยี VizQL ซึ่งเป็นภาษาที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานโปรแกรมได้อย่างง่ายดาย โดยผู้ใช้งานเพียงเลือกตัวข้อมูลที่สนใจไปวางบน Worksheet Area จากนั้น VizQL จะทำการวิเคราะห์และเลือกรูปแบบของ Visualization ที่เหมาะสมกับข้อมูลนั้นให้โดยอัตโมัติ และยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ หากตัวข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ยังมีระบบแนะนำ Visualization ที่เหมาะสำกับข้อมูลที่ผู้ใช้งานสนใจ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างมืออาชีพ และแน่นอน หากต้องการใช้งานหรือสร้าง Visual ด้วยตนเอง ก็สามารถทำได้เช่นกัน

โดยในเวอร์ชั่นปัจจุบันจะจำหน่ายเป็นแบบแพคเกจ ขายรวมกับ Tableau Prep Builder และ Tableau Server/ Online โดยจำหน่ายในรูปแบบ Subscription ผู้ใช้งานสามารถ Download ตัวโปรแกรมมาทดลองใช้งานได้ 14 วัน

Tableau Prep Builder: เป็นเครื่องมือที่ทำมาเพื่อใช้ในการจัดการกับข้อมูลที่ยังขาดความถูกต้องสมบูรณ์ ทั้งการแยกข้อมูล, การรวมข้อมูล, การปรับรูปแบบของข้อมูล เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานกับ Tableau Desktop ได้อย่างเต็มที่ โดยมีการทำงานในรูปแบบ Flow Instruction ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจการทำงานของโปรแกรมได้ง่ายขึ้น มีคำสั่งครอบคลุมการจัดการข้อมูลอย่างครบครัน รองรับแหล่งข้อมูลหลากหลายรูปแบบเช่นเดียวกับ Tableau Desktop สามารถ Export ข้อมูลในรูปแบบ CSV file หรือ Hyper file ได้ นั่นคือเราสามารถนำข้อมูลที่ได้จาก Tableau Prep ไปใช้กับโปรแกรมอื่นได้ด้วย

Tableau Prep builder นั้นเป็นเครื่องมือที่ทำงานแบบ Self-Service data preparation ที่ผู้ใช้งานสามารถจัดการกับข้อมูลได้ โดยแทบจะไม่ต้องเขียน Script เพิ่มเติมแต่อย่างใด เมื่อเราจัดทำ Flow ในการจัดการกับ Data แล้ว เมื่อข้อมูลมีการอัพเดท Tableau Prep ก็จะจัดการ Clean ข้อมูลให้พร้อมใช้งานได้อย่างรวดเร็ว

ภาพจาก : www.tableau.com/products/prep

ตัว Tableau Prep จะรวมอยู่ใน Package ของ Tableau Creator แต่หากต้องการทดลองใช้งาน สามารถ Download มาทดลองใช้งานได้ 14 วัน

Tableau Online / Tableau Server : เป็นระบบที่จะใช้ในการแชร์ตัวรายงาน รวมถึง Dataset ที่จัดทำไว้ใน Tableau Desktop ไปยังผู้ใช้งานภายในองค์กร โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ว่าจะใช้งานเป็น Tableau Server (ติดตั้งแบบ On-Premise บน Server ขององค์กร) หรือ จะเลือกเป็น Tableau Online (ใช้บริการ Cloud Service ของ Tableau) ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตั้งได้ตอนสั่งซื้อ Tableau Creator package หรือ Tableau Explorer package โดยผู้ใช้งานหรือ องค์กร สามารถเลือกใช้งานได้ตามความต้องการ

Tableau Online และ Tableau Server นั้นนอกจากจะใช้ดูรายงาน หรือ แชร์รายงานให้กับผู้ใช้งานภายในองค์กรแล้ว ยังสามารถแก้ไข หรือสร้างรายงานใหม่ ผ่านหน้า Web browser ได้โดยตรง ทั้งนี้ ในการเข้าใช้งาน Tableau Server หรือ Tableau Online นั้นผู้ใช้งานต้องมี License ของ Tableau Creator, Tableau Explorer หรือ Tableau Viewer ก่อนจึงจะสามารถเข้าใช้งานได้ โดยการใช้งานสามารถเข้าผ่าน Tableau Mobile หรือ ผ่านหน้า Web Browser ก็ได้

ทั้งนี้ สำหรับ Tableau Online ผู้ใช้งานจะได้รับพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมด 100GB

ภาพแสดง Web portal ของ Tableau Online

Tableau Reader: เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเปิดดูตัวรายงานจาก Tableau Desktop โดยโปรแกรมนี้เราสามารถ Download มาใช้งานได้ฟรี แต่ผู้ใช้งานจะสามารถดูรายงานได้เพียงอย่างเดียว แต่จะไม่สามารถทำการแก้ไขข้อมูลภายในรายงานได้ รวมทั้งการบันทึกข้อมูลจาก Tableau Desktop นั้นต้องทำเป็น Package file หรือ การนำข้อมูลที่ต้องการแสดงผล ใส่ลงไปในไฟล์รายงาน ซึ่งอาจส่งผลให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ (ยากต่อการส่งทาง Email) รวมทั้งยังมีผลเรื่องความช้าในการโหลดข้อมูลอีกด้วย แต่ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถใช้ในการแชร์รายงานจาก Tableau ไปยังผู้ใช้งานที่สามารถทำได้ง่าย และประหยัดค่าใช้จ่ายในหลายๆ กรณี

สามารถเข้าไป Download ตัวโปรแกรมได้ที่ https://www.tableau.com/products/reader

Tableau Mobile: เป็น Application บน Smart Phone หรือ Tablet สำหรับใช้ในการเข้าใช้งาน Tableau Server หรือ Tableau Online ซึ่งรองรับทั้ง Androids และ iOS ผู้ใช้งานสามารถ Download มาใช้งานได้ฟรี โดยในการใช้งานทุกคนต้องมี License สำหรับเข้าใช้งาน Tableau Server หรือ Tableau Online ด้วยจึงจะสามารถเข้าใช้งานได้

ภาพจาก: www.tableau.com/products/mobile

ผู้ใช้งานสามารถ Download Apps ได้ที่ https://www.tableau.com/products/mobile

Tableau Public: เป็น Tableau Desktop เวอร์ชันฟรี ที่ผู้ใช้งานสามารถ Download มาฝึกใช้งานโปรแกรมได้ โดยฟีเจอร์การทำงานหลักๆ จะเหมือนกับ Tableau Desktop เพียงแต่จะรองรับเฉพาะ File Data Source เท่านั้น ไม่สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลได้ รวมทั้งการใช้งานจะต้องใช้ร่วมกับ Tableau Public Server นั่นคือ ต้องเชื่อมต่อ Internet ตลอดเวลา Tableau Public จะเหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการทดลองหรือฝึกใช้งานโปรแกรม เพราะสามารถใช้งานได้ฟรี (หากใช้ Tableau Desktop จะทดลองใช้ได้เพียง 14 วันเท่านั้น) และยังเหมาะสำหรับหน่วยงานที่ต้องการแชร์รายงานของ Tableau Desktop แบบสาธารณะ ก็สามารถนำข้อมูลไปเก็บบน Tableau Public Cloud ได้เลย รองรับข้อมูลได้สูงสุด 10GB ต่อผู้ใช้งาน

สำหรับผู้ใช้งาน Tableau Desktop ปกติ จะสามารถอัพโหลดรายงานมาเก้บไว้ที่ Tableau Public ได้ด้วย ซึ่งสามารถใช้ในกรณีที่ต้องการแชร์ข้อมูลรายงานในส่วนที่เป็นสาธารณะ เพื่อให้คนที่ไม่มี Tableau License สามารถเข้าถึงตัวรายงานได้

ภาพแสดงโหมดการแก้ไขรายงานของ Tableau Public

ในเวอร์ชันปัจจุบัน (2020.x) นั้น Tableau Public มีการเพิ่มฟีเจอร์ในการแก้ไขตัวรายงานผ่าน Web Browser ได้ด้วย จึงทำให้มีความน่าใช้งานอย่างมาก เพราะนอกจากเราจะสามารถอัพโหลดรายงานไปเก็บไว้แล้ว ยังสามารถทำการปรับแต่ง หรือพัฒนาตัวรายงานต่อได้ ที่สำคัญยังสามารถใช้งานได้ฟรีอีกด้วย

หากสนใจเข้าใช้งาน Tableau Public สามารถสมัครและใช้งานได้ที่ https://public.tableau.com/s/

Tableau Package

หลังจากที่เรารู้จักตัวเครื่องมือของ Tableau ไปแล้ว คราวนี้เรามารู้จักกับ Tableau Package กันบ้าง ว่าถ้าเราต้องการซื้อ License ของ Tableau มาใช้งาน จะมี Package แบบใดให้เราเลือกบ้าง

สำหรับผู้ใช้งานแบบบุคคล

Tableau Creator :

เป็น Package สำหรับผู้พัฒนาตัวรายงานด้วย Tableau Desktop โดยใน Package จะประกอบด้วย Tableau Desktop, Tableau Prep และ Tableau Server หรือ Tableau Online (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) โดย 1 License สามารถใช้งานได้เพียง 1 คนเท่านั้น

สำหรับผู้ใช้งานแบบองค์กร

สำหรับการใช้งานแบบองค์กร ก็ต้องเลือกรูปแบบของ Deploy Solution ว่า จะใช้งาน Tableau Server หรือ Tableau Online

สำหรับการเลือกใช้ร่วมกับ Tableau Server นั้น ทางองค์กรต้องจัดเตรียม Server สำหรับติดตั้ง Tableau Server เอง โดยสามารถเลือกซื้อ Package ต่างๆ ได้ตามจำนวนของผู้ใช้งานในแต่ละ Role ได้

Tableau Creator :

ใช้สำหรับสร้าง หรือพัฒนาตัวรายงานด้วย Tableau Desktop เช่นเดียวกับกรณีของการใช้งานส่วนบุคคล หากองค์กรมีผู้พัฒนารายงานหลายคน ก็ต้องซื้อตามจำนวนที่ต้องการใช้งาน

Tableau Explorer :

เป็น License เสริม สำหรับให้ผู้ใช้งาน ที่ไม่ได้ใช้ Tableau Creator เข้าใช้งาน Tableau Server หรือ Tableau Online ขององค์กรได้ โดย License นี้ ผู้ใช้งานสามารถทำการแก้ไขตัวรายงานที่อยู่บน Tableau Server/Tableau Online ได้ด้วย สามารถใช้ในการสร้างรายงานจาก Dataset ที่ทาง Creator จัดเตรียมไว้ให้ได้ License นี้จึงเหมาะสำหรับทีมผู้บริหารขององค์กร ที่ต้องการดูรายงาน และต้องการปรับเปลี่ยนมุมมองของรายงานได้ตามต้องการ

ปัจจุบัน สามารถซื้อเริ่มต้นที่ 1 license (แต่ต้องมี Tableau Creator license อย่างน้อย 1 license) 

Tableau Viewer :

เป็น License สำหรับให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปดูตัวรายงานบน Tableau Server หรือ Tableau Online ได้ เช่นเดียวกับ Explorer แต่ Tableau Viewer จะไม่สามารถปรับเปลี่ยนมุมมองของรายงานได้ กล่าวคือออกแบบมาเพื่อผู้ใช้งานทั่วไป สำหรับเข้าดูข้อมูลรายงานที่ทาง Creator จัดทำขึ้นนั่นเอง

ปัจจุบัน สามารถซื้อเริ่มต้นที่ 1 license (แต่ต้องมี Tableau Creator license อย่างน้อย 1 license) 

สามารถดูรายละเอียดราคาของแต่ละ Package ได้ที่ https://www.tableau.com/pricing/

Tableau for Academic License

นอกจากนี้ทาง Tableau ยังมี Tableau Academic License สำหรับบุคลากรด้านการศึกษา (อาจารย์และนักศึกษา) ซึ่งบุคลากรด้านการศึกษาสามารถขอใช้งาน Tableau Desktop ได้ฟรี (ระยะเวลา 1 ปี ต่อครั้ง สามารถต่ออายุได้) โดยมีเงื่อนไขว่า การใช้งานนั้นต้องเป็นการใช้งานเพื่อการเรียนการสอน และการวิจัยที่ไม่ใช่การวิจัยเพื่อการแสวงหากำไร

หากสนใจใช้งาน ก็สามารถยื่นคำขอได้ที่ https://www.tableau.com/academic

ตัวอย่างรายงานจาก Tableau Desktop

สามารถดูตัวอย่างรายงานที่สร้างจาก Tableau Desktop ได้จาก Link ด้านล่าง

https://rdbi.co.th/rdbi-course/tableau-sample-dashboard/

รับชม Clip แนะนำ Feature ของ Tableau Desktop

หากมีคำถาม หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ keattipong@rdbi.co.th หรือ ติดต่อผ่านช่องทางที่หน้า https://rdbi.co.th/contact/

สนใจหลักสูตรอบรม Tableau Desktop สามารถดูรายละเอียดได้ที่ RDBI Course

Share this post:
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp

Discover more articles