การประยุกต์ใช้กฏของพาเรโต้ หรือกฏ 80/20
จากสภาพการแข่งขันในปัจจุบันการเรียนรู้กฎของพาเรโต้ ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่ง
เพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวได้ทัน แก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างทันท่วงทีมากยิ่งขึ้น
ถ้าใครยังไม่รู้จักกฏพาเรโต้ วันนี้เราจะมาแนะนำให้รู้จักกันค่ะ
กฏของพาเรโต้ คืออะไร
- สิ่งที่สำคัญจะมีเพียง 20 % และที่เหลือจะเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญอีก 80 % และจำนวนเปอร์เซ็นต์ไม่จำเป็นต้อง 20/80 เสมอไป อาจแตกต่างได้ แต่ให้สนใจสิ่งสำคัญเป็นหลัก
- การนำกฎพาเรโต้ไปประยุกต์ใช้ในองค์กร จะเป็นลักษณะ
ทำน้อยแต่ได้ผลลัพธ์มาก และทำให้เราสามารถเรียงลำดับความสำคัญว่าสิ่งไหนควรจะต้องพัฒนาก่อนหรือหลัง
จะช่วยให้ผู้บริหาร รวมถึงพนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น - เป็นสิ่งที่สามารถพบเห็นทั่วไปในชีวิตประจำวัน
ในองค์กร รวมถึงในประเทศ
การนำกฏพาเรโต้ไปประยุกต์ใช้ในองค์กร ในแต่ละแผนก เช่น
แผนกการขายและการตลาด เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้
– การจัดกลุ่มลูกค้า เป็นประเภท A, B, C หรือกลุ่มลูกค้าที่ซื้อเยอะไปจนถึงซื้อน้อย รวมถึงนำเอาความถี่ในการซื้อของลูกค้ากลุ่มที่ซื้อบ่อยไปจนซื้อไม่บ่อย เป็นต้น เมื่อจัดกลุ่มของลูกค้าแล้ว เราจะสามารถนำไปกำหนดกลยุทธ์ให้กับองค์กรได้ ว่าควรจะจัดโปรโมชั่นกับลูกค้าแต่ละกลุ่มอย่างไรดี ควรจะโฟกัสลูกค้ากลุ่มที่ทำรายได้ให้กับบริษัท 80% ก่อน หรือแบ่งกลุ่มลูกค้าเป็นลูกค้าเก่า ลูกค้าใหม่ จัดกลุ่มของลูกค้า เรียงลำดับตามอายุการเป็นลูกค้า จากนั้นก็ทำโปรโมชั่นให้แต่ละกลุ่มแตกต่างกันไป
– การจัดกลุ่มสินค้า กลุ่มไหนขายได้มากไปจนถึงขายได้น้อย และแบ่งเกรดให้กับสินค้า จากนั้นเราก็เลือกโฟกัสสินค้าที่ขายได้มาก ซึ่งส่วนมากจะเป็นกลุ่มสินค้า 20% เท่านั้นที่ทำรายได้ให้กับบริษัทถึง 80%
– การพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการ หากเรามีการเก็บแบบสอบถามความพึงพอใจ ข้อร้องเรียนต่างๆและเรานำมาแสดงผลเป็นกราฟ โดยเรียงลำดับข้อร้องเรียนจากมากไปหาน้อย และแยกตามผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท เราจะพบว่าสินค้าและบริการใดมีข้อร้องเรียนมาก และถ้าต้องการแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบกับรายได้ 80% ของบริษัทจะต้องโฟกัสสินค้าและบริการเหล่านี้ เป็นต้น ในทางกลับกันถ้าเรามีแบบสอบถามความพึงพอใจเรื่องของผลิตภัณฑ์และบริการ และถ้าบริษัทต้องการเพิ่มความพึงพอใจของสินค้าและบริการจากเดิม 80% ไปเป็น 90% เราควรจะไปพัฒนาเรื่องใดบ้าง ก็เอาความพึงพอใจของลูกค้ามาแสดงผลเป็นกราฟ และดูว่าเรื่องไหนที่ลูกค้าพึงพอใจมากไปหาน้อย และเราจะสามารถเพิ่มได้อย่างไรบ้าง ให้ โฟกัส 20% เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องทำทุกเรื่อง
แผนกการผลิตและแผนก QC
การลดของเสียจากกระบวนการผลิต นำจำนวนของเสีย แยกตามสาเหตุที่ทำให้เกิดของเสียมาแสดงผลเป็นกราฟ และเรียงจากมากไปน้อย และมีตัวเลขเปอร์เซ็นต์ของเสียสะสมเพื่อมาเทียบ จะพบว่า 80% ของเสีย เกิดจากสาเหตุไม่กี่สาเหตุเท่านั้น ให้เราไปโฟกัสเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้นก่อน ก็จะลดปริมาณของเสียลงได้ถึง 80 % เช่น จากรูปตัวอย่างการทำกราฟ Pareto พบว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดของเสียมากถึง 80% คือ ฉ, ง, ต, ค
ดังนั้น ผู้บริหารแผนกการผลิต ควรจะโฟกัสแก้ไขสาเหตุของปัญหา 4 เรื่องนี้ก่อน จากนั้นค่อยไปแก้ไขเรื่องอื่นๆ ทีหลัง เป็นต้น
ตัวอย่างกราฟพาเรโต้ – Pareto Chart

รวมบทความ Business Analytics
ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ https://rdbi.co.th/contact/
สอบถามเพิ่มเติมที่เพจ
Line official Account : @rdbi
อีเมล์ sales@rdbi.co.th