ตัวชี้วัดสำหรับผู้บริหารองค์กร (Key Performance Indicator for Executive)

February 9, 2018

by Nuchanat Rongroang

contact

Key Performance Indicator for Executive
ตัวชี้วัดสำหรับผู้บริหารองค์กร

การเลือกตัวชี้วัดมาจัดทำเป็นรายงานและ Dashboard หรือการนำเสนอภาพข้อมูลสำหรับผู้บริหารที่ดี และถือเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ควรมีการกำหนดเป้าหมายขององค์กร ของแต่ละแผนก เพื่อให้สามารถเลือกตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายขององค์กร มาจัดวางเป็นภาพข้อมูลขององค์กร และของแผนกได้ ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นแผนกใด รวมถึงผู้บริหารระดับแผนกเห็นภาพข้อมูลตามที่ผู้บริหารระดับสูงต้องการ ทำให้ผู้ปฏิบัติงาน/ผู้วิเคราะห์ข้อมูลให้องค์กร สามารถคัดเลือกรายงานและภาพข้อมูลสำหรับองค์กร และของแผนกต่างๆ ได้ตรงตามความต้องการของผู้บริหาร และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตัวอย่าง KPI สำหรับผู้บริหารระดับสูง สนใจดูรายละเอียดเติมเพิ่มได้

ตัวอย่างตัวชี้วัดสำหรับผู้บริหารระดับสูง บางตัวสามารถทำเป็นรายงานได้เลย เพราะผู้บริหารมักต้องการทราบภาพรวมขององค์กร แต่ละตัวชี้วัดจะสัมพันธ์กับข้อมูลของแต่ละแผนก การจะให้ได้มาซึ่งข้อมูลของแต่ละแผนก ควรถูกต้อง แม่นยำ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างถูกต้อง

การจะนำไปจัดทำรายงาน จำเป็นต้องทราบว่า Chart Type แต่ละประเภทสื่อถืงอะไร ซึ่งจะมีอธิบายให้ทราบต่อไปค่ะ

ชุดที่ 1 : จำนวน 24 ตัว แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่

สัดส่วนด้านโครงสร้างการผลิต

  1. ทุนต่อแรงงาน (เท่า)
  2. สัดส่วน R&D ต่อยอดขาย (%)
  3. สัดส่วนเครื่องจักรอายุไม่เกิน 6 ปี (%)
  4. สัดส่วนแรงงานไร้ฝีมือต่อแรงงานรวม (%)
  5. สัดส่วนโรงงานที่มีการอบรมฝีมือแรงงาน (%)

สัดส่วนด้านภาวะการผลิตและการจำหน่าย

  1. อัตราการใช้กำลังการผลิต (%)
  2. สัดส่วนการส่งออก (%)
  3. สัดส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลังต่อการจำหน่าย (%)

สัดส่วนด้านโครงสร้างต้นทุนและค่าใช้จ่าย

  1. สัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศ (%)
  2. สัดส่วนต่อต้นทุนรวมทั้งหมด
  3. ต้นทุนการผลิต (%)
  4. ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (%)
  5. ต้นทุนแรงงานรวม (%)

 สัดส่วนต่อต้นทุนการผลิต

  1. ต้นทุนวัตถุดิบ (%)
  2. ต้นทุนพลังงาน (%)
  3. ต้นทุนค่าจ้างเหมา (%)
  4. ต้นทุนค่าเสื่อม (%)

สัดส่วนต่อค่าใช้จ่ายการขายและบริการ

  1. ค่าใช้จ่ายตลาด (%)
  2. ค่าใช้จ่ายสำนักงาน (%)
  3. ค่าใช้จ่ายการขนส่ง (%)

มูลค่าเพิ่ม / ผลิตภาพการผลิต

  1. อัตราการขยายตัวของมูลค่าเพิ่ม (%)
  2. อัตราการขยายตัวของผลิตภาพในการผลิต TFPG (%)
  3. สัดส่วนมูลค่าเพิ่มต่อทุน (เท่า)
  4. สัดส่วนมูลค่าเพิ่มต่อแรงงาน (เท่า)

นุชนาฏ รงรอง
บริษัท อาร์ แอนด์ ดี บีไอ จำกัด

รวมบทความ Business Analytics

ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ https://rdbi.co.th/contact/
สอบถามเพิ่มเติมที่เพจ http://bit/ly/rdbipage
Line official Account : @rdbi
อีเมล์ sales@rdbi.co.th

Share this post:
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp

Discover more articles