การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับธุรกิจซื้อมาขายไป จะต้องวิเคราะห์ข้อมูลอะไรบ้าง เนื่องจากบริษัทได้มีโอกาสเข้าไปช่วยทำระบบ Business Intelligence /Business Analytics โดยใช้ IBM Cognos Business Intelligence (IBM Cognos BI) / Tableau / Power BI / Excel จากบริษัทประเภทนี้อยู่หลายแห่ง จึงมาแบ่งปันความรู้ และประสบการณ์ให้ผู้อื่น
ธุรกิจประเภทซื้อมาขายไป ควรวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งออกเป็นเรื่องหลักๆ ดังนี้
1. การขายสินค้า
– สินค้าตัวไหนขายดีที่สุด 10 อันดับแรก แยกตาม Brand , แยก Category, แยกตามชนิด เป็นต้น ขึ้นอยู่มุมมองของแต่ละองค์กร แต่ละบริษัท เมื่อรู้ข้อมูลเหล่านี้แล้ว ผู้จัดการฝ่ายขายก็สามารถไปกำหนดกลยุทธ์ต่อได้
– ขายสินค้าตัวไหนขายได้กำไรดี Margin สูง ถ้าคิด Gross Profit แยกตาม Product ด้วยจะยิ่งดีมากๆ
– สินค้าตัวไหนขายไม่ออก ในช่วง 3 เดือนนี้ (ต้องตัดสินค้าที่ขายตาม Seasoning ออกนะคะ) เพราะบางตัวอาจไม่ได้ขายตลอดทั้งปี
– สินค้าตัวไหนขายไม่ได้กำไร หรือ Margin ต่ำ และถ้าคิด Gross Profit อาจจะขาดทุนเลยก็ได้ ปกติธุรกิจซื้อมาขายไปมักมีต้นทุนในการซื้อสินค้าอยู่แล้วอย่างชัดเจน สามารถเอาต้นทุนในการขาย และบริหารจัดการ มาถัวเฉลี่ยแยกเป็นรายผลิตภัณฑ์ได้ จะดีมากๆ เพื่อให้รู้ว่าสินค้าตัวไหนมี Margin ต่ำ และควรเลิกขายสินค้านั้นไป ผู้บริหารบางแห่งอาจจะบอกว่า มีบางผลิตภัณฑ์ยังไงก็ต้องขาย เพราะมีคู่แข่งเยอะ Margin เลยต่ำ ผู้บริหารควรลองกำหนดกลยุทธ์ใหม่ ที่ไม่ต้องแข่งขันทางด้านราคา เพื่อให้องค์กรสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน หรือหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีคู่แข่งน้อยๆ มาขายจะได้ Margin สูงๆ ค่ะ

2. ช่องทางการจัดจำหน่าย หน้าร้านหรือ Shop / Sales
ปกติธุรกิจซื้อมาขายไปมักต้องมี shop, sales เพื่อช่วยในการขายสินค้าและกระจายสินค้า จะเรียกรวมเป็นช่องทางในการจัดจำหน่ายก็ได้ เนื่องจากปัจจุบันมีทั้งแบบ Online, Offline ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่มักขายหลายช่องทาง เพื่อให้ลูกค้าสามารถซื้อหาได้ง่ายๆ
ช่องทางออนไลน์ ได้แก่
– ขายบนเว็บไซด์ของบริษัทเอง
– ขายผ่าน Market place เช่น Lazada, 11Street เป็นต้น
– ขายผ่าน Line@
– ขายผ่าน Instagram
– ฯลฯ
ช่องทางออฟไลน์ ได้แก่
– ขายผ่านหน้าร้าน Shop
– ขายผ่าน Catalog
– ขายผ่านบูธ
– ขายผ่านพนักงานขาย/ตัวแทนจำหน่าย
การวิเคราะห์ข้อมูลก็มักจะพิจารณาตามช่องทางการจัดจำหน่าย เช่น
– รายได้จากช่องทางการจัดจำหน่ายไหนดีที่สุด
– ต้นทุนในการขายสินค้าช่องทางไหนสูงที่สุด
– กำไรในการขายสินค้าช่องทางไหนสูงที่สุด
– กำไร/รายได้ x 100 จากแต่ละช่องทาง เปรียบเทียบกันว่าช่องไหนได้สัดส่วนกำไรสูงกว่ากัน เพื่อจะได้โฟกัสช่องทางการจัดจำหน่ายนั้นๆ
3. สต๊อกสินค้า
– สินค้าค้างสต๊อกมานานแค่ไหนแล้ว ถ้าจัดกลุ่มของสต๊อกสินค้าแบ่งเป็น 30 วัน 60 วัน 90 วัน 120 วัน และมากกว่า 120 วันก็จะดีมากๆ ยิ่งถ้าเป็นธุรกิจเกี่ยวข้องกับสินค้าที่มีอายุของสินค้าจะยิ่งต้องคำนึงถึงมาก และต้องหากลยุทธ์มาบริหารจัดการสต๊อกสินค้าให้ออกไปก่อนที่จะหมดอายุ
การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดการสต๊อกสินค้า เช่น
– บอกสถานะการสต๊อกสินค้า สินค้าชนิดไหนสต๊อกมากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากับที่มี Order จากลูกค้า หรือประมาณการยอดขายของ Sales
– สินค้าชนิดไหน ค้างสต๊อกนานบ้าง แบ่งตามช่วงเวลา 30 วัน 60 วัน 90 วัน 120 วัน และมากกว่า 120 วัน

หากใครอยากแบ่งปันความรู้และประสบการณ์บ้างมาแชร์กันได้นะคะ
หรืออยากสอบถามทางบริษัท อาร์ แอนด์ ดี บีไอ จำกัด ยินดีค่ะ
เขียนโดย : คุณนุชนาฏ รงรอง กรรมการผู้จัดการ
Trainer & Consultant Business Intelligence / Business Analytics
รวมบทความ Business Analytics
ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ https://rdbi.co.th/contact/
สอบถามเพิ่มเติมที่เพจ
Line official Account : @rdbi
อีเมล์ sales@rdbi.co.th